Translate

กวางแซมบ้า และกวางแดง

กวางแซมบ้า : สัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง

สัตว์เศรษฐกิจ
กวางแซมบ้า กวางไทย กวางม้า หรือ กวางป่า (Cervus unicolor) เป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวสีน้ำตาลไหม้-น้ำตาลดำ  กวางเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย  250 กก. ส่วนเพศเมียจะน้ำหนักเฉลี่ย  155  กก. กวางสายพันธุ์นี้ จะออกหากินในเวลาเย็น เมื่ออากาศร้อนจะชอบหลบนอนตามพุ่มไม้ ชอบอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ มีนิสัยไม่ค่อยตื่นตระหนกเท่าไรนัก กวางสายพันธุ์นี้จะไม่กระโดด เนื่องจากตัวมีขนาดใหญ่  ชอบกินใบไม้และชอบนอนแช่ปลัก แช่โคลนตมเช่นเดียวกับกระบือ กวางแซมบ้าเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เขมร ลาว พม่า จึงสามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพการเลี้ยงในฟาร์ม กวางสายพันธุ์นี้มีลำตัวขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตทางด้านเนื้อ และเขากวางอ่อนมากกว่ากวางรูซ่ามากเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง มีราคาค่อนข้างสูง สามารถปรับพฤติกรรมการกินโดยขึ้นอยู่กับอาหารที่ให้ ได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีข้อเสียคือเนื่องจากกวางชนิดนี้ชอบอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ จึงต้องใช้เพศผู้จำนวนมากในการคุมฝูง โดยใช้อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1 : 7 - 8 ตัว ในปัจจุบันกวางไทยมีจำนวนน้อย ทำให้ราคาค่อนข้างสูง และยังหาซื้อได้ยากอีกด้วย

กวางแดง: สัตว์เศรษฐกิจ
กวางแดง  (Cervus elaphus) สัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจ

สัตว์เศรษฐกิจ

กวางแดงมีถิ่นกำเนิดในแถบยุโรป และเอเชียบางส่วน ลักษณะโดยทั่วไปจะมีขนสีน้ำตาลเกือบหมดทั้งตัว มีความสูงประมาณ  1.2 - 1.5  เมตร  น้ำหนักโดยรวม  95 - 300  กิโลกรัม มีนิสัยขอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  แต่เฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ กวางแดงก็จะแยกเป็นฝูงตัวผู้และฝูงตัวเมียคนละส่วนกัน กวางแดงชอบกินหญ้าและใบไม้ตามป่าโปร่ง  กวางแดงเพศเมียจะมีความสมบูรณ์พันธุ์เมื่ออาจุประมาณ  18 - 30  เดือน  มีรอบการเป็นสัด  18  วัน และจะตั้งท้องนาน  233  วัน  ให้ลูกครั้งละ  1  ตัว ข้อดีของกวางชนิดนี้ก็คือ จะเป็นกวางขนาดใหญ่  ให้ผลผลิตเขาอ่อน และให้ผลผลิตเนื้อที่สูงกว่ากวางสายพันธุ์อื่น แต่ก็มีข้อเสียคือ เนื่องจากเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในแถบยุโรปจึงค่อนข้างมีปัญหาเรื่องสุขภาพเมื่อนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในบ้านเรา