Translate

กวางรูซ่า และกวางฟอลโล

กวางรูซ่า สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่

การเลี้ยงกวาง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังมาแรง
กวางรูซ่า : สัตว์เศรษฐกิจ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) กำหนดให้กวางเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง อีกทั้งกรมป่าไม้ได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2537) ตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ให้กวางเป็นสัตว์ป่าชนิดที่สามารถขออนุญาตเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้

กวางรูซ่า: (สัตว์เศรษฐกิจ)
การเลี้ยงกวาง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังมาแรง
กวางรูซ่า (Cervus timorensis)

สัตว์เศรษฐกิจ
กวางรูซ่าเป็นกวางขนาดกลาง ลำตัวสีน้ำตาล - น้ำตาลไหม้ เพศผู้ที่โตเต็มที่จะสูงประมาณ 1.1-1.3 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 80-120 กก. ส่วนเพศเมียจะน้ำหนักประมาณ 50-60 กก. เป็นกวางที่ออกหากินในเวลาเย็นจนถึงยามค่ำ ชอบอยู่รวมฝูงใหญ่ เป็นกวางที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่าย และกระโดดได้สูงมากประมาณ 1.5 -  2 เมตร            ข้อดีของกวางรูซ่าก็คือ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี มีอัตราการผสมติดค่อนข้างสูง คือประมาณ 90 %  สามารถผสมข้ามพันธุ์กับกวางป่า (กวางแซมบ้า) ได้และให้ลูกที่มีน้ำหนักตัวมากกว่ารูซ่าพันธุ์แท้เสียอีก กวางรูซ่าเพศผู้ 1 ตัว สามารถคุมฝูงเพศเมียได้ 25-30 ตัว ดังนั้นจึงลดต้นทุนในการเลี้ยงกวางเพศผู้จำนวนมาก แต่ก็มีข้อเสียเนื่องจากกวางรูซ่ามีนิสัยค่อนข้างตื่นตระหนก และกระโดดได้สูง ผู้ที่คิดเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดนี้ ต้องลงทุนใช้รั้วตาข่ายกั้นคอกที่มีความยืดหยุ่น และ มีความสูงประมาณ 2 เมตร ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง 

กวางฟอลโล: สัตว์เศรษฐกิจ
กวางฟอลโล (Dama dama) สัตว์เศรษฐกิจทางด้านท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

สัตว์เศรษฐกิจ
กวางฟอลโลมีถิ่นกำเนิดในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชียไมเนอร์
ลักษณะโดยทั่วไปของกวางฟอลโลคือ ตัวผู้จะมีสีน้ำตาลจุดขาว สีเทาแกมเหลืองให้เห็นเด่นชัด  ส่วนหน้าหนาวจะมีสีน้ำตาลเทามีจุดน้อย และมีหางยาว ส่วนเขาจะแบนแผ่กว้างแตกแขนงมาก  มีความสูงประมาณ 1 เมตร น้ำหนัก 50 - 80 กิโลกรัม ชอบหากินในป่าโปร่ง  กวางฟอลโลจะมีนิสัยขี้ขลาดตื่นกลัวอยู่ตลอดเวลา ตัวเมียจะสมบูรณ์พันธุ์เต็มที่เมื่ออายุ  2  ปี  รอบการเป็นสัด  18.2  วัน  ตั้งท้องนาน  226 - 230  วัน  ให้ลูกครั้งละ  1  ตัว ข้อดีของกวางฟอลโลคือ จะเป็นกวางที่มีความสวยงามอยู่ในตัว ประกอบกับลำตัวที่มีขนาดเล็กทำให้จัดการดูแลง่าย เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม   ส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยว แต่ก็มีข้อเสียนั่นก็คือ กวางสายพันธุ์นี้จะผสมพันธุ์เป็นฤดู มีขนาดเล็กให้ผลผลิตน้อยไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ (เพื่อการค้า) และเนื่องจากเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในแถบยุโรป จึงค่อนข้างมีปัญหาเรื่องสุขภาพเมื่อเลี้ยงในเมืองไทยเรา