ปูนา: สัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
สัตว์เศรษฐกิจ
สัตว์เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้อย่างพอเพียง
และมีวิธีการเลี้ยงที่ไม่ยุ่งยาก แถมราคาก็เป็นที่น่าพอใจอีกชนิด ที่จะมาแนะนำในบทความนี้ก็คือ
การเลี้ยงปูนาครับ
ปูนาเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีกระดองแข็งหุ้มลำตัวไว้
ลักษณะกระดองจะเป็นรูปไข่ บางตัวมีสีน้ำตาลดำหรือน้ำตาลปนม่วง มีตา 2 ตา ที่สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาได้อย่างอิสระ
และเหนือเบ้าตาจะมีปุ่มเล็ก ๆ ข้างละปุ่มและมีปากอยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง มีขา 5
คู่ โดยขาคู่แรกของปูนาจะมีขนาดใหญ่ เรียกว่าก้ามปู และก้ามของปูตัวผู้จะใหญ่กว่าก้ามของตัวเมียเอาไว้สำหรับจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร
ก้ามซ้ายและก้ามขวาจะใหญ่ไม่เท่ากัน และมักจะใหญ่สลับข้างกัน
โครงสร้างหลักของปูนาโดยทั่วไปมี
3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง โดยส่วนท้องของปูนาจะมีลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่
7 แผ่น เรียกว่าจับปิ้ง โดยจับปิ้งของปูตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าของตัวเมีย ซึ่งมีลักษณะกลมและกว้างเอาไว้สำหรับเก็บไข่และลูกปู
แต่ส่วนปลายของจับปิ้งจะใช้เป็นช่องเพื่อการขับถ่าย ตามปกติทั่วไปแล้ว ปูนาชอบขุดรูในทุ่งนา
บนคันนา หรือคันคลองใกล้บริเวณแหล่งน้ำและแหล่งอาหาร
![]() |
การเลี้ยงปูนา:สัตว์เศรษฐกิจ |
การผสมพันธุ์ของปูนา
สัตว์เศรษฐกิจ
โดยส่วนใหญ่แล้วการผสมพันธุ์ของปูนาจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน
คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
โดยปูตัวเมียจะหงายส่วนท้องขึ้นและเปิดจับปิ้งออก จากนั้นปูตัวผู้ก็จะสอดขาเข้าไปในส่วนท้องของปูตัวเมีย
เพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อที่อยู่ระหว่างจับปิ้งกับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์
ในการผสมพันธุ์ปูจะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง และปูตัวเมียสามารถเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้นาน
ประมาณ 3 - 4 เดือน และแล้วปูตัวเมียก็จะเริ่มมีไข่ในท้องประมาณ 600 - 700 ฟอง ในการจับคู่ผสมพันธุ์ของปูจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ระหว่างนี้ปูตัวผู้จะยังคงเกาะบนหลังของปูตัวเมียอยู่ตลอด
นัยว่า..เพื่อให้ความคุ้มครองจนกว่าปูตัวเมียจะแข็งแรงและสามารถดำรงชีพได้อย่างปกติ
แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคมเป็นช่วงฤดูจำศีลของปู โดยปูนาจะอยู่ในรู ไม่กินอาหาร
ไม่เคลื่อนไหวถ้าไม่จำเป็น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน แต่ปูนาจะขึ้นจากรูออกมาหากินอีกครั้งเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์
และจะเริ่มกลับมาผสมพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝน
การเลี้ยงปูนาในเชิงเศรษฐกิจ
การเลี้ยงปูนามีเทคนิคการเลี้ยงที่ง่าย
ๆ โดยรวมแล้วก็เหมือนการเลี้ยงปูม้าหรือปูทะเลโดยทั่วไป ไม่มีอะไรยุ่งยากเท่าไรนัก
เกษตรผู้เลี้ยงจะใช้บ่อดิน หรือบ่อซีเมนต์ก็ได้ แต่ถ้าหากเลี้ยงในบ่อดินควรล้อมตาข่ายเสริมเพื่อป้องกันปูหนีออกนอกบ่อ
แต่เพื่อความสะดวกในการจัดการ ขอแนะนำให้เลี้ยงในบ่อซีเมนต์จะดีกว่า เทคนิคสำคัญในการเลี้ยงปูนา
ก็คือ ในบ่อเลี้ยงปูนาประมาณ 3/4 ของพื้นที่บ่อ ควรให้มีดินสูงประมาณ 25 - 30 เซนติเมตรเพื่อให้ปูได้ขุดรูอยู่อาศัย
โดยทำส่วนที่เป็นดินให้ลาดเอียงเข้าหาอีกส่วนหนึ่งที่เป็นน้ำของบ่อเลี้ยง
เมื่อเตรียมบ่อเลี้ยงได้ดังนี้แล้ว ก็นำลูกปูมาใส่บ่อเลี้ยงให้อาหารตามปกติ โดยในช่วง
15 วันแรกของการอนุบาลลูกปูควรให้อาหารจำพวก ไรแดง หนอนแดง เทา หรือไข่ตุ๋น ก่อน
หลังจากนั้นให้ที่เป็นปลาหรือกุ้งสับละเอียด และให้อาหารเม็ด (ที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุก)
ตามลำดับ เมื่อปูนามีอายุประมาณ 30 วันให้นำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ที่เตรียมไว้
ในปริมาณ 10,000 ตัวต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ทั้งนี้ก็เพื่อความสมบูรณ์
และเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ราคาปูนา
ในช่วงฤดูฝนราคาจะอยู่ที่
10 -15 บาท ต่อกิโลกรัม แต่บางพื้นที่ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 35 บาท ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงที่ปูนาหายาก
(ช่วงหน้าหนาว) ขายได้ในราคาตัวละ 1 บาท และช่วงนี้เองที่ราคาปูนาจะพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ
50 บาท.